Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี

เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี

ดวงจันทร์ “ยูโรปา” (Europa) ของดาวพฤหัสบดี เป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ในระบบสุริยะของเราที่อาจมีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต โดยการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า ใต้เปลือกน้ำแข็งของยูโรปานั้นมีมหาสมุทรน้ำเค็มที่มีน้ำของเหลวและมีพื้นทะเลที่เป็นหิน

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถยืนยันได้ว่า มหาสมุทรในยูโรปานั้นมีองค์ประกอบเคมีที่จำเป็นสำหรับชีวิตหรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มคาร์บอน

“เจมส์ เว็บบ์” จับภาพ “เฮอร์บิก-ฮาโร” ปรากฏการณ์หายากในอวกาศ

นาซารายงานพบหลักฐาน อาจมีมหาสมุทรอยู่บนดาวเคราะห์ “K2-18 b”

นักวิทย์สร้าง “แผนที่ดาวอังคาร” เตรียมพร้อมสำหรับตั้งถิ่นฐานบนดาวสีแดง

ล่าสุด นักดาราศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เวบบ์ (JWST) ขององค์การนาซา (NASA) ได้ตรวจพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนพื้นผิวน้ำแข็งของยูโรปา

การวิเคราะห์บ่งชี้ว่า คาร์บอนนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทรใต้ผิวดิน ไม่ได้มาจากอุกกาบาตที่ตกลงมาหรือแหล่งภายนอกอื่น ๆ การค้นพบนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพิจารณาว่า ดวงจันทร์ยูโรปาจะเป็นสสถานที่ที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยหรือไม่

เควิน แฮนด์ นักชีวดาราศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นของนาซา หนึ่งในทีมผู้ค้นพบ กล่าวว่า “การค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบริเวณที่อุดมด้วยเกลือของเปลือกน้ำแข็งของยูโรปาบ่งชี้ว่า CO2 นั้นมาจากมหาสมุทรด้านล่างและไม่ได้มาจากแหล่งภายนอก เช่น อุกกาบาตและไอออนที่โจมตียุโรป”

เจโรนิโม วิลลานูเอวา จากศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซา หนึ่งในทีนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “บนโลกของเรา ชีวิตชอบความหลากหลายทางเคมี ยิ่งมีความหลากหลายมากเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น เราคือชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นหลัก การทำความเข้าใจคุณสมบัติทางเคมีของมหาสมุทรในยูโรปาจะช่วยให้เราระบุได้ว่า มหาสมุทรนั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือไม่ หรืออาจเป็นสถานที่ที่ดีสำหรับสิ่งมีชีวิต”

ซาแมนธา ทรัมโบ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ อีกหนึ่งในทีมวิจัย เสริมว่า “ตอนนี้เราคิดว่าเรามีหลักฐานเชิงสังเกตการณ์แล้วว่า คาร์บอนที่เราเห็นบนพื้นผิวยูโรปามาจากมหาสมุทร นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กเลย เพราะคาร์บอนเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นทางชีวภาพ”

ดร.คริสโตเฟอร์ เกลน นักธรณีเคมีจากสถาบันวิจัยเซาธ์เวสต์ในเทกซัส หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “เรายังไม่รู้ว่าสิ่งมีชีวิตมีอยู่จริงในมหาสมุทรของยูโรปาหรือไม่ แต่การค้นพบครั้งใหม่นี้ได้เพิ่มหลักฐานว่า มหาสมุทรของยูโรปาอาจจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับการดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมนั้นดูน่าดึงดูดใจจากมุมมองของชีวดาราศาสตร์”

ข้อมูลจาก เจมส์ เว็บบ์ พบว่า บนพื้นผิวของยูโรปา คาร์บอนไดออกไซด์มีมากที่สุดในภูมิภาคที่เรียกว่า “ทาราเรจิโอ” (Tara Regio) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางธรณีวิทยาที่ยังมีอายุน้อย น้ำแข็งบนพื้นผิวถูกรบกวน และมีแนวโน้มว่าจะมีการแลกเปลี่ยนวัสดุระหว่างมหาสมุทรใต้ผิวดินและพื้นผิวน้ำแข็ง

ทรัมโบอธิบายว่า “การสำรวจก่อนหน้านี้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเกลือที่ได้มาจากมหาสมุทรในทาราเรจิโอ ตอนนี้เราพบว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นอย่างมากเช่นกัน เราคิดว่านี่หมายความว่าคาร์บอนอาจมีต้นกำเนิดสูงสุดในมหาสมุทรใต้พื้นผิว”

ด้านวิลลานูเอวาบอกว่า “นักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันว่า มหาสมุทรของยูโรปาเชื่อมต่อกับพื้นผิวของมันมากน้อยเพียงใด ผมคิดว่าคำถามนั้นเป็นแรงผลักดันสำคัญในการสำรวจยูโรปา … นี่แสดงให้เห็นว่า เราอาจสามารถเรียนรู้พื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับองค์ประกอบของมหาสมุทรได้ก่อนที่เราจะเจาะน้ำแข็งเพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์”

ดวงจันทร์ยูโรปามีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเล็กน้อย มีอุณหภูมิพื้นผิวที่ไม่เคยสูงเกิน -140 องศาเซลเซียส และการแผ่รังสีที่เข้ามาจากดาวพฤหัส แต่มหาสมุทรของยูโรปาซึ่งอยู่ลึก 64-160 กม. และอยู่ใต้พื้นผิวน้ำแข็ง 16-24 กม. ได้ทำให้ดวงจันทร์ยูโรปาพอจะมีศักยภาพในการดำรงชีวิตได้ แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเคมีของมัน รวมถึงความอุดมสมบูรณ์ขององค์ประกอบทางชีวภาพที่จำเป็น เช่น คาร์บอน

นักดาราศาสตร์มักอ้างถึงธาตุ 6 ชนิด หรือ “Big 6” ที่พบในสิ่งมีชีวิตบนโลก ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และซัลเฟอร์ โดยขณะนี้มีการค้นพบ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และซัลเฟอร์บนยูโรปาแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ชัดเจนว่า ซัลเฟอร์ที่พบเกิดจากมหาสมุทรของมันเองหรือมาจากดวงจันทร์ดวงอื่นของดาวพฤหัสอย่างไอโอ

นาซาวางแผนที่จะส่งยานอวกาศยูโรปาคลิปเปอร์ (Europa Clipper) ไปยังยูโรปาในเดือนตุลาคม 2024 ซึ่งจะทำการบินผ่านยูโรปาอย่างใกล้ชิดหลายสิบรอบ เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมว่ามีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตหรือไม่

เกลนบอกว่า “การสังเกตการณ์ในอนาคตโดย เจมส์ เว็บบ์ และภารกิจยูโรปาคลิปเปอร์ น่าจะให้เบาะแสเพิ่มเติมแก่เราว่าองค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ของชีวิต เช่น ไนโตรเจน มีอยู่บนยูโรปาหรือไม่”

เรียบเรียงจาก NASA / The Guardian

ภาพจาก AFP PHOTO HANDOUT-NASA/JPL-CALTECH/SETI INSTITUTE

โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงไทย กับภารกิจอีก 3 นัด ศึกคัดโอลิมปิก 2024

โปรแกรมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2022 ประจำวันศุกร์ที่ 22 ก.ย. 66 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี