สรรพากร ปิดช่องโหว่ เข้มเก็บภาษีรายได้จากต่างประเทศ
ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ "สรรพากร เปลี่ยนกฎใหม่ เงินได้นอกประเทศ หากมีการโอนเข้าไทยต้องเสียประเทศเงินได้ เริ่ม 1 ม.ค.67 ผมและลูกค้าว้าวุ่นเลย"
นอกจากนี้ ยังมีอีกเพจ ที่เป็นกลุ่มคนที่ออกแบบ digital sticker หรือ E-book ก็หยิบยกประกาศนี้มาโพสต์ มีใจความว่า จากเดิมที่ผู้ค้า มีรายได้ 60,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 แต่ใช้วิธีวางแผนทยอยเอาเงินเข้าไทย 3 ปีคือปี 2564 , ปี 2565 และ ปี 2566 เท่ากับเอาเข้ามาปีละ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษี และเป็นวิธีที่ทำการมานานแล้ว
สรรพากรยืนยัน ! ยังไม่มีการจัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
เตือน! อย่าหลงเชื่อสรรพากรเก๊ หลอกยื่นภาษีประจำปี
แต่อนาคตเมื่อประกาศนี้เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2567 ผู้ค้านำเงินเข้ามาในปีไหน ก็ต้องเสียภาษีในปีนั้นนั่นทำให้ พ่อค้า แม่ค้า ดิจิทัลต้องวางแผนรับมือกันดีๆ
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก TAX BUG NHAM (แท็ค-บัก-หนอม) ของนายถนอม เกตุเอม นักบัญชีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี อธิบายว่า กฎหมายนี้ บังคับกับผู้ที่อยู่ในไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป แต่มีรายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ถ้านำรายได้เข้าไทยปีไหน เท่ากับต้อง เสียภาษีปีนั้น เริ่มบังคับ 1 ม.ค.2567
โดยก่อนก่อนหน้านี้ กฎหมายภาษีประมวลรัษฎากร พูดถึงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีบุคคลที่มีเงินได้จากต่างประเทศไว้ว่า 1. ถ้าอยู่ในไทยตั้งแต่ 180 วันในปีไหน 2. นำเงินได้ในปีนั้น เข้าไทยในปีเดียวกัน
หากครบทั้ง 2 เงื่อนไข เงินได้ต่างประเทศส่วนนี้ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีในไทยด้วย (แต่อาจจะได้รับยกเว้นกรณีมีอนุสัญญาภาษีซ้อน) ดังนั้นถ้าเรานำเงินได้ต่างประเทศส่วนนี้เข้าไทยในปีถัดไปก็ไม่ต้องเสียภาษี เพราะไม่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง 2 ข้อที่กฎหมายกำหนดนั่นเอง
แต่ล่าสุด คำสั่งของกรมสรรพากร ป. 161/2566 มาเปลี่ยนแนวทางปฎิบัติในการตีความกฎหมายใหม่ เป็น กรณีที่มีเงินได้ต่างประเทศ และผู้มีเงินได้อยู่ในไทยตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป ไม่ว่าจะนำเงินได้เข้าปีไหน ให้เอามาคำนวณเพื่อเสียภาษีในปีนั้น
นั่นแปลว่า ต่อจากนี้แนวทางการตีความกฎหมายของสรรพากรเปลี่ยนไป และผู้มีเงินได้จากต่างประเทศที่อยู่ในไทยต้องเตรียมรับมือคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร อธิบายว่า โดยหลักสากลของการจัดเก็บภาษีเงินได้ คือ เงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อนำกลับเข้าประเทศไม่ว่าจะปีไหน ก็จะต้องนำมาคำนวณภาระภาษีในประเทศ
กรณีของไทยนั้น เดิมกฎหมายกำหนดว่า ผู้มีเงินได้ในต่างประเทศในปีใด หากนำเข้ามาในประเทศในปีนั้น จะต้องนำมาคำนวณภาระภาษี แต่หากนำเข้ามาในปีถัดไป หรือ ปีต่อๆไป จะไม่มีภาระภาษี จึงเกิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาระภาษี ดังนั้น กรมฯจึงต้องปิดช่องโหว่ดังกล่าว
"ผลสอบ ก.พ.66” รอบ Paper & Pencil ประกาศแล้ว เช็กรายชื่อได้ ที่นี่ !
ผลวอลเลย์บอลหญิงไทย สุดต้านแพ้ สหรัฐอเมริกา 0-3 นัดสองศึกคัดเลือกโอลิมปิก 2024
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ตุลาคม