Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ชง รมว.คมนาคมคนใหม่ สางปัญหา “สถานีอยุธยา” รถไฟไฮสปีดไทย-จีน

ชง รมว.คมนาคมคนใหม่ สางปัญหา “สถานีอยุธยา” รถไฟไฮสปีดไทย-จีน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องการก่อสร้างสถานีอยุธยา ซึ่งเป็นงานในสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร (กม.) โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีน ระยะ (เฟส) ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพราะปัจจุบันยังมีเสียงคัดค้านการสร้างสถานีจากนักวิชาการอิสระด้านโบราณคดีบางราย ที่มองว่าจะกระทบกับแหล่งมรดกโลก ทั้งนี้ รฟท. ยังมั่นใจว่าสถานีอยุธยาจะเกิดขึ้นได้ เพราะยังมีทางออกอีกหลายทางเลือก อาทิ การปรับขนาดของสถานีลงอีก เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า เรื่องการก่อสร้างสถานีอยุธยา หากมีการหารือเพื่อหาทางออกร่วมกัน เชื่อว่าจะจบเรื่องนี้ลงได้ แต่สุดท้ายแล้วหากไม่ได้ข้อยุติจริงๆ รฟท. คงไม่สร้างสถานีอยุธยา เพราะตามหลักการของ รฟทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ต้องไม่ให้สถานีอยุธยาเป็นอุปสรรคของทั้งโครงการ โดยในระหว่างที่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องนี้ เมื่อ รฟท. ลงนามสัญญากับผู้รับจ้างแล้ว ก็จะให้ดำเนินการการก่อสร้างทางวิ่งไปก่อน ส่วนกรณีที่จะให้ย้ายสถานีอยุธยาไปก่อสร้างในพื้นที่บ้านม้านั้นพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่อยู่ไกลจากชุมชนประมาณ 7 กม. และพื้นที่ไม่เพียงพอ ไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ รฟท. อยู่ระหว่างตรวจรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดย รฟท. คาดว่าภายในเดือน ก.ย. 66 จะสามารถเสนอรายงาน HIA ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก่อนเสนอรายงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศประมาณ 9 หน่วยงาน และองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อไป

สำหรับการก่อสร้างสัญญาที่ 4-5 สามารถดำเนินการคู่ขนานไปกับการจัดทำรายงาน HIA ได้ เพียงแค่เว้นงานก่อสร้างสถานีอยุธยาไว้ก่อน อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ประเด็นการก่อสร้างสถานีอยุธยานั้น รฟท. ได้หารือกับกรมศิลปากรและได้ข้อสรุปแล้ว โดยให้จัดทำ HIA และที่ผ่านมาในการประชุมร่วมกัน ก็ไม่ได้ขัดข้องเรื่องการสร้างสถานีแล้ว แต่เมื่อมีการนำ HIA ไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในช่วงเดือน มี.ค. 66 ปรากฏว่า เกิดเสียงคัดค้านจากนักวิชาการอิสระด้านโบราณคดีบางราย จึงทำให้เกิดเป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง  

เบื้องต้นทราบว่า รฟท. จะนำความคืบหน้าการดำเนินโครงการฯ และปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการสร้างสถานีอยุธยา รายงานให้ รมว.คมนาคมคนใหม่รับทราบด้วย ทั้งนี้สถานีอยุธยา ถือเป็นสถานีที่สำคัญมีคุณค่า และมีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานีในเส้นทางเดินรถไฟ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ทรงทำพิธีเปิดการเดินรถไฟระหว่างสถานีกรุงเทพ-อยุธยา เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2439 ดังนั้นในการออกแบบครั้งแรก รฟท. จึงกำหนดว่าจะนำสถานีเดิมทำเป็นพิพิธภัณฑ์ อยู่ภายในสถานีอยุธยาแห่งใหม่ เพื่ออนุรักษ์ตัวอาคารสถานี และให้ประชาชนสามารถเข้ามาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และเยี่ยมชมได้ด้วย 

การมีสถานีอยุธยา ยังมีข้อดีที่จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา และพื้นที่โดยรอบด้วย สามารถอำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน และนักท่องเที่ยว ตลอดจนยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการเดินทางรถยนต์ และปรับโหมดการเดินทางไปสู่ระบบรางมากขึ้น ทั้งนี้ รฟท. ยังยืนยันว่าการพัฒนา และการอนุรักษ์เป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการควบคู่กันได้.