Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เกราะป้องกัน ทุจริตคอร์รัปชัน

ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เกราะป้องกัน ทุจริตคอร์รัปชัน

การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันถูกกำหนดเป็นยุทธศาสตร์และวาระแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาใช้กับทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ

ส่องนโยบาย "ปราบโกง" พรรคการเมือง ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง

รู้จัก SLAPP ฟ้องปิดปาก อุปสรรคต้านทุจริต

ซึ่งข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ(Transparency International) ใช้ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง

โดยจะเป็นการตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการจัดซื้อจัดจ้าง ว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่ส่อไปในทางทุจริต เช่น ไม่เรียกรับเงินสินบนหรือผลประโยชน์อื่นใด และ จะปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตโปร่งใสและเป็นธรรม

ข้อตกลงคุณธรรมจึง ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

ข้อตกลงคุณธรรมจึงเป็นการลงนามด้วยกัน 3 ฝ่ายร่วมกัน

1.หน่วยงานภาครัฐ

2.หน่วยงานภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานกับภาครัฐ

3.ภาคประชาสังคม คือ ผู้สังเกตการณ์(Observer)

โดยยอมรับให้มีบุคคลที่สามที่มาจากภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ ตั้งแต่การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR) จนถึงสิ้นสุดสัญญา

เรามาเจาะลึก บทบาทหน้าที่ของทั้ง 3 ฝ่าย ในข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact)

  • หน่วยงานของรัฐหมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งเป็นเจ้าของโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ต้องเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ขอบเขตงาน (TOR) ที่เว็บไซต์ของหน่วยงานและเว็บไซต์ e-GP ของกรมบัญชีกลาง

เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนทั่วไปสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบกระบวดการจัดซื้อจัดจ้างได้ และปฏิบัติต่อผู้เสนอราคาทุกรายอย่างเท่าเทียมกับเพื่อนสนับสนุนการแข่งขันอย่างเป็นธรรม กำหนดให้ข้อตกลงคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารการเสนอราคาโดยหากผู้เสนอราคารายใดไม่ลงนามในข้อตกลงคุณธรรมจะไม่มีสิทธิเข้าร่สมเสนอราคาในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นได้ และอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

  • ผู้ประกอบการ หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน กิจการร่วมค้าต้องไม่ให้ เสนอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นประโยชน์ในการเสนอราคา และยินยอมให้ผู้สังเกตการณ์และตรวจสอบโครงการได้ในทุกขั้นตอน
  • ผู้สังเกตการณ์ หมายความว่า บุคคลภายนอกหรือภาคประชาสังคมที่ได้รับการคัดเลือกจาก องค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. (คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต) มอบหมาย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ และประสบการณ์ที่จำเป็น ต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ โดยจะต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ จัดซื้อจัดจ้างนั้น และไม่ถือว่าผู้สังเกตการณ์เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โดยผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตลอดระยะเวลาและทุกขั้นตอน ในกรณีที่พบเห็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางทุจริตต้องรีบแจ้งหน่วยงานเจ้าของโครงการทราบ เพื่อสามารถชี้แจงแก้ไขได้ทันการณ์ ให้ผู้สังเกตการณ์แจ้งต่อคณะกรรมการความร่วมมือป้องการทุจริตหรือคณะอนุกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริตผ่านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและมีข้อสังเกตการณ์ต่อไปคำพูดจาก สล็อต777

สำหรับ การพิจารณาคัดเลือกโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม จะมีหลักเกณฑ์ คือ

1.โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

2.โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือเป็นที่สนใจของประชาชน

3.โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีลักษณะเป็นโครงการที่ซับซ้อน

4.โครงการที่มีความเสี่ยงในการทุจริต

5.โครงการที่คาดว่าจะมีการดำเนินการแน่นอน

6.โครงการที่หน่วยงานภาครัฐเจ้าของโครงการพิจารณาเสนอโครงการให้จัดทำข้อตกลง คุณธรรม

อย่างไรก็ตาม โดยสรุปก็คือ“ข้อตกลงคุณธรรม” (Integrity Pact: IP) จะเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอได้ตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างและให้มีผู้สังเกตการณ์ (Observer) ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ โดยผู้สังเกตการณ์ต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นและให้รายงานความเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ค.ป.ท.

การมีเกราะป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันข้อตกลงคุณธรรม ถือเป็นเกราะกำแพงสำคัญที่ทำให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง การสร้างถนนหนทาง สนามกีฬาชุมชน ศาลาประชาคม ฯลฯ หรือการทำโครงการต่างๆ จะถูกตรวจสอบมากขึ้น จากการทำข้อตกลงคุณธรรมที่เข็มแข็ง จริงจัง จากทุกๆ ฝ่าย ทำให้การลงทุนต่างๆ ไร้ สินบนอย่างแท้จริงได้

ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง มาตรฐานขั้นต่่าของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการ ต้องจัดให้มี ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560